รมว. DES ได้เปิดเผยเน้นย้ำว่ากฎหมาย PDPA นั้น จัดทำขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชน โดยยังสามารถถ่ายรูปและโพสต์ได้ เเต่ต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย DES, PDPA – (2 มิ.ย. 2565) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า วันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้ ก็จะเป็นวันสำคัญที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะมีผลบังคับใช้ ข้อมูลส่วนบุคคลของเราก็คือข้อมูลที่เราไปติดต่อธุรกิจ ติดต่อร้านค้าต่าง ๆ เราก็จะให้ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ในการทำธุรกรรมที่เรามีกิจการ เช่นอาจจะมีบริษัทประกันภัยชีวิต ธนาคาร ร้านค้าออนไลน์ หรือการไปซื้อยา ไปร้านเสริมสวย เค้าจะมีข้อมูลของลูกค้าที่เราไปให้ไว้ ข้อมูลเหล่านี้จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย คือ ร้านค้าหรือธุรกิจที่เก็บข้อมูลร้านค้าจะต้องเก็บให้ดี ห้ามให้รั่วไหล หรือห้ามเอาไปขาย หรือเอาไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ ซึ่งอันนี้มีความผิดตามกฎหมายนี้
ประชาชนก็จะมีสิทธิ์ในข้อมูลของตัวเอง
ถ้าท่านไม่ให้ความยินยอมร้านค้าหรือธุรกิจที่เอาข้อมูลของท่านไป จะเอาข้อมูลนั้นไปใช้ไม่ได้ ซึ่งอันนี้ก็เป็นกฎหมายที่มีประโยชน์จริง ๆ ในการคุ้มครองข้อมูลของประชาชนเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจในการให้ข้อมูลกับกิจการร้านค้าต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น
ส่วนที่มีข้อกังวลเกี่ยวกับ PDPA หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็คือการถ่ายภาพ ก็เรียนว่า การที่เราไปถ่ายภาพแล้วไปติดบุคคลอื่นเข้ามาในภาพ ซึ่งเราไม่รู้จักแล้วติดโดยบังเอิญ อันนี้ไม่มีความผิด แม้ว่าเราจะเอาภาพนั้นไปโพสต์ไปใช้ในเรื่องส่วนตัว ถ้าไม่ได้ไปทำให้เค้าเสียหาย ไม่ได้ตั้งใจไปให้เค้าเกิดความเสื่อมเสีย มันไม่มีความผิด อันนี้ไม่ถือว่าเป็นความผิดพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงเรื่องกล้องวงจรปิดที่เราติดไว้ที่บ้าน แล้วไปติดภาพของคนที่เดินผ่านไปผ่านมา ถ้าเราไม่ได้เอาไปใช้ประโยชน์ในทางที่มิชอบ เป็นข้อมูลที่เราเก็บไว้เพื่อป้องกันอาชญากรรมก็ไม่มีความผิด
อย่างไรก็ตาม นายชัยวุฒิ ยังย้ำด้วยว่า กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือที่เรียกย่อๆ ว่า PDPA เป็นกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของประชาชน ดูแลประชาชนในเรื่องข้อมูลข่าวสารของท่าน ไม่ใช่กฎหมายที่มุ่งจะไปเอาผิดหรือลงโทษใครเพราะงั้นไม่ต้องวิตกกังวล เพียงแต่ว่า ถ้าข้อมูลของท่านมีการรั่วไหล มีการนำไปใช้ที่ไม่ถูกต้อง ท่านก็ร้องเรียนติดต่อเข้ามาได้ ตามกฎหมายก็สามารถดำเนินคดีเอาผิดกับคนที่เอาข้อมูลไปใช้ได้ ก็ทำให้ข้อมูลส่วนตัวของท่านได้รับความคุ้มครอง เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนทุกคนแน่นอน
เปิดประวัติ 4 รองผู้ว่าฯ กทม ทีมชัชชาติ ดีกรีไม่ธรรมดา
วันนี้ 1 มิ.ย.2565 เป็นวันแรกหลังจาก นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าฯ กรุงเทพ คนที่ 17 เดินทางมาถึงศาลาว่าการ กรุงเทพมหานคร ถือเป็นการทำงานในฐานะ ผู้ว่าฯ กทม. เต็มตัว โดยได้มีการนำคณะทำงานและทีม รองผู้ว่าฯ ทั้ง 4 เป็นที่ปรึกษาเข้ามาแนะนำกับ นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ด้วยเช่นกัน
วันนี้เพื่อเป็นการต้อนรับ ทีมชัชชาติ เข้าทำงานในฐานะผู้ว่าฯ กรุงเทพ อย่างเต็มรูปแบบ The Thaiger จึงจะพาทุกคนมารู้จักกับเหล่าที่ปรึกษาทั้ง 4 รองผู้ว่าฯ ทีมชัชชาติกัน
ประวัติ รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล จบการศึกษาจาก วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมโยธา เกียรตินิยมอันดับ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้ช่วยอธิการบดีด้านพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการ บริษัท ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจามจุรี จำกัด ,กรรมการอิสระ บริษัท นวัตกรรมจามจุรี จำกัด กรรมการอิสระ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และกรรมการอิสระ บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติ จักกพันธุ์ ผิวงาม อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. จบการศึกษาจาก ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปริญญาโทจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ารับราชการเป็นนักสถิติ 3-5 งานวิจัยทางผังเมือง กองผังเมือง สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร จากนั้นมาเป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตบางกอกใหญ่ หัวหน้าสำนักงานเลขานุการผู้ว่าฯ กทม.
เกษียณอายุราชการด้วยตำแหน่ง รองปลัดกทม. หลังจากเกษียณได้เพียง 19 วัน พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. คนที่ 16 ในขณะนั้น ได้ทาบทามให้มาดำรงตำแหน่ง รองผู้ว่าฯ กทม. หลังจากทำงานได้ระยะหนึ่ง นายจักกพันธุ์ ได้ยื่นหนังสือลาออกต่อ พล.ต.อ.อัศวิน เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 ล่าสุดกลับมาร่วมทีมบริหารกทม.อีกครั้ง ในตำแหน่งรองผู้ว่าฯกทม. ทีมชัชชาติ
ทวิดา ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภัยพิบัติ รวมถึงการวิเคราะห์และออกแบบนโยบายสาธารณะ การจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ จบการศึกษาปริญญาตรีและโท จากคณะรัฐศาสตร์ เอกบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาเอก Doctor of Philosophy in Public Administration and Public Policy School of Public and International Affairs, University of Pittsburgh, USA
เข้าเป็นอาจารย์ประจำสาขาบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาตั้งแต่ พ.ศ.2541 จนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการความเสี่ยง รวมถึงการจัดการภัยพิบัติ ทั้งไทยและองค์กรระหว่างประเทศ มีผลงานวิจัยด้านการจัดการนโยบายสาธารณะล่าสุด ในปี 2565 “การออกแบบและจัดทำยุทธศาสตร์การต่างประเทศของกรุงเทพมหานคร สำนักงานการต่างประเทศ กรุงเทพมหานคร”
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง